ปุ่มลัดบนคีย์บอร์ดของ Mac

เมื่อใช้วิธีกดปุ่มบางปุ่มร่วมกัน คุณจะสามารถทำสิ่งต่างๆ ที่ปกติต้องใช้เมาส์ แทร็คแพด หรืออุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่นๆ

การใช้ปุ่มลัดคีย์บอร์ด

หากต้องการใช้ปุ่มลัดบนคีย์บอร์ด ให้กดปุ่มปรับค่าค้างไว้อย่างน้อยหนึ่งปุ่ม แล้วกดปุ่มสุดท้ายของปุ่มลัด ตัวอย่างเช่น หากต้องการใช้ Command-C (คัดลอก) ให้กดปุ่ม Command ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม C แล้วปล่อยทั้งสองปุ่ม เมนูและแป้นพิมพ์ Mac มักใช้สัญลักษณ์เฉพาะ รวมถึงปุ่มปรับค่า

  • Command (หรือ Cmd) ⌘

  • Shift ⇧

  • Option (หรือ Alt) ⌥

  • Control (หรือ Ctrl) ⌃

  • Caps Lock ⇪

  • Fn

บนแป้นพิมพ์ที่สร้างมาสำหรับ PC ที่ใช้ Windows ให้ใช้ปุ่ม Alt แทน Option และใช้ปุ่ม Ctrl หรือปุ่มโลโก้ Windows แทน Command

ปุ่มบางปุ่มบนคีย์บอร์ดของ Apple จะมีสัญลักษณ์และฟังก์ชันพิเศษ เช่น สำหรับความสว่างของจอแสดงผล ความสว่างของคีย์บอร์ด และอีกมากมาย หากไม่มีฟังก์ชั่นเหล่านี้บนแป้นพิมพ์ คุณอาจต้องสร้างฟังก์ชั่นเหล่านี้โดยสร้างปุ่มลัดแป้นพิมพ์ของคุณเอง หากต้องการใช้ปุ่มเหล่านี้เป็น F1, F2, F3 หรือปุ่มฟังก์ชั่นมาตรฐานอื่นๆ ให้ใช้ร่วมกับปุ่ม Fn

ตัด คัดลอก วาง และปุ่มลัดทั่วไปอื่นๆ

  • Command-X: ตัดรายการที่เลือกและคัดลอกไปยังคลิปบอร์ด

  • Command-C: คัดลอกรายการที่เลือกไปยังคลิปบอร์ด ซึ่งสามารถใช้ได้กับไฟล์ใน Finder ด้วย

  • Command-V: วางเนื้อหาของคลิปบอร์ดลงในเอกสารหรือแอปปัจจุบัน ซึ่งสามารถใช้ได้กับไฟล์ใน Finder ด้วย

  • Command-Z: เลิกทำคำสั่งก่อนหน้า คุณสามารถกด Command-Shift-Z เพื่อทำกลับมาใหม่ ซึ่งเป็นการย้อนกลับคำสั่งเลิกทำ ในบางแอป คุณสามารถเลิกทำและทำกลับมาใหม่ได้หลายคำสั่ง

  • Command-A: เลือกทั้งหมดทุกรายการ

  • Command-F: ค้นหารายการในเอกสารหรือเปิดหน้าต่างค้นหา

  • Command-G: ค้นหาอีกครั้ง: ค้นหารายการที่ปรากฏถัดไปของรายการที่พบก่อนหน้า หากต้องการค้นหารายการที่ปรากฏก่อนหน้า ให้กด Shift-Command-G

  • Command-H: ซ่อนหน้าต่างของแอปด้านหน้า เมื่อต้องการดูแอปด้านหน้าแต่ซ่อนแอปอื่นๆ ทั้งหมด ให้กด Option-Command-H

  • Command-M: ย่อหน้าต่างด้านหน้าไปยัง Dock เมื่อต้องการย่อหน้าต่างทั้งหมดของแอปด้านหน้า ให้กด Option-Command-M

  • Command-O: เปิดรายการที่เลือก หรือเปิดกล่องโต้ตอบเพื่อเลือกไฟล์ที่จะเปิด

  • Command-P: พิมพ์เอกสารปัจจุบัน

  • Command-S: บันทึกเอกสารปัจจุบัน

  • Command-T: เปิดแท็บใหม่

  • Command-W: ปิดหน้าต่างด้านหน้า เมื่อต้องการปิดหน้าต่างทั้งหมดของแอป ให้กด Option-Command-W

  • Option-Command-Esc: บังคับออกจากแอป

  • Command–Space bar: แสดงหรือซ่อน ช่องค้นหาของ Spotlight เมื่อต้องการดำเนินการค้นหา Spotlight จากหน้าต่าง Finder ให้กด Command–Option–Space bar (หากคุณใช้แหล่งป้อนเข้าหลายแหล่ง เรียนรู้วิธีเปลี่ยนปุ่มลัดแป้นพิมพ์ที่ขัดแย้งกัน)

  • Control–Command–Space bar: แสดงตัวแสดงอักขระซึ่งคุณสามารถใช้เลือกอิโมจิและสัญลักษณ์อื่นๆ

  • Control-Command-F: ใช้แอปในโหมดเต็มหน้าจอ หากแอปนั้นรองรับ

  • Space bar: ใช้ดูแบบรวดเร็วเพื่อดูตัวอย่างรายการที่เลือก

  • Command-Tab: สลับไปยังแอปที่ใช้ล่าสุดตัวถัดไปในกลุ่มแอปที่เปิดอยู่

  • Command–Grave accent ('): สลับระหว่างหน้าต่างของแอปที่คุณกำลังใช้งาน

  • Shift-Command-5: ใน macOS Mojave หรือใหม่กว่า ให้ถ่ายภาพหน้าจอหรือทำการบันทึกหน้าจอ หรือใช้ Shift-Command-3 หรือ Shift-Command-4 เพื่อถ่ายภาพหน้าจอ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพหน้าจอ

  • Shift-Command-N: สร้างโฟลเดอร์ใหม่ใน Finder

  • Command-เครื่องหมายจุลภาค (,): เปิดการตั้งค่าสำหรับแอปด้านหน้า

ปุ่มลัดสำหรับพัก ออกจากระบบ และปิดเครื่อง

คุณอาจต้องกดปุ่มลัดบางปุ่มเหล่านี้นานกว่าปุ่มลัดอื่นๆ เล็กน้อย ซึ่งช่วยป้องกันการกดปุ่มเหล่านี้โดยไม่ตั้งใจ

  • ปุ่มเปิด/ปิด: กดเพื่อเปิดเครื่อง Mac หรือปลุก Mac กลับมาทำงานหลังจากการพัก กดค้างไว้ 1.5 วินาทีเพื่อให้ Mac เข้าสู่โหมดพักเครื่อง* กดค้างไว้เพื่อบังคับปิด Mac ของคุณ

  • Option–Command–ปุ่มเปิด/ปิด* หรือ Option–Command–Media Eject (ดีดสื่อออก) : ทำให้ Mac เข้าสู่โหมดพักเครื่อง

  • Control–Shift–ปุ่มเปิด/ปิด* หรือ Control–Shift–Media Eject Eject (ดีดสื่อออก) : ทำให้จอแสดงผลเข้าสู่โหมดพักเครื่อง

  • Control–ปุ่มเปิด/ปิด* หรือ Control–Media Eject (ดีดสื่อออก) : แสดงกล่องโต้ตอบที่ถามว่าคุณต้องการรีสตาร์ท พักเครื่อง หรือปิดเครื่องหรือไม่

  • Control–Command–ปุ่มเปิด/ปิด:* บังคับให้ Mac รีสตาร์ท โดยที่ระบบไม่แจ้งให้บันทึกเอกสารใดๆ ที่เปิดอยู่และยังไม่ได้บันทึก

  • Control–Command–Media Eject (ดีดสื่อออก) : ออกจากแอปทั้งหมด แล้วรีสตาร์ท Mac ของคุณ หากเอกสารใดๆ ที่เปิดอยู่มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้บันทึกไว้ ระบบจะถามว่าคุณต้องการบันทึกหรือไม่

  • Control–Option–Command–ปุ่มเปิด/ปิด* หรือ Control–Option–Command–Media Eject (ดีดสื่อออก) : ออกจากแอปทั้งหมด แล้วปิดเครื่อง Mac หากเอกสารใดๆ ที่เปิดอยู่มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้บันทึกไว้ ระบบจะถามว่าคุณต้องการบันทึกหรือไม่

  • Control-Command-Q: ล็อคหน้าจอของคุณทันที

  • Shift-Command-Q: ออกจากระบบบัญชีผู้ใช้ macOS ของคุณ ระบบจะขอให้คุณยืนยัน หากต้องการออกจากระบบทันทีโดยไม่ต้องยืนยัน ให้กด Option-Shift-Command-Q

* ไม่ใช้กับเซ็นเซอร์ Touch ID

ปุ่มลัดสำหรับ Finder และระบบ

  • Command-D: ทำสำเนาไฟล์ที่เลือก

  • Command-E: เอาดิสก์หรือโวลุ่มที่เลือกออก

  • Command-F: เริ่มการค้นหา Spotlight ในหน้าต่าง Finder

  • Command-I: แสดงหน้าต่างขอรายละเอียดสำหรับไฟล์ที่เลือก

  • Command-R: (1) เมื่อมีการเลือกนามแฝงใน Finder: ให้แสดงไฟล์ต้นฉบับสำหรับนามแฝงที่เลือกไว้ (2) ในบางแอป เช่น ปฏิทิน หรือ Safari ให้รีเฟรชหรือโหลดหน้านั้นอีกครั้ง (3) ในการอัปเดตซอฟต์แวร์ ให้ตรวจหารายการอัปเดตซอฟต์แวร์อีกครั้ง

  • Shift-Command-C: เปิดหน้าต่างคอมพิวเตอร์

  • Shift-Command-D: เปิดโฟลเดอร์เดสก์ท็อป

  • Shift-Command-F: เปิดหน้าต่าง "ล่าสุด" ที่แสดงไฟล์ทั้งหมดที่คุณดูหรือเปลี่ยนแปลงเมื่อเร็วๆ นี้

  • Shift-Command-G: เปิดหน้าต่างไปยังโฟลเดอร์

  • Shift-Command-H: เปิดโฟลเดอร์เริ่มต้นของบัญชีผู้ใช้ macOS ปัจจุบัน

  • Shift-Command-I: เปิด iCloud Drive

  • Shift-Command-K: เปิดหน้าต่างเครือข่าย

  • Option-Command-L: เปิดโฟลเดอร์รายการดาวน์โหลด

  • Shift-Command-N: สร้างโฟลเดอร์ใหม่

  • Shift-Command-O: เปิดโฟลเดอร์เอกสาร

  • Shift-Command-P: แสดงหรือซ่อนบานหน้าต่างแสดงตัวอย่างในหน้าต่าง Finder

  • Shift-Command-R: เปิดหน้าต่าง AirDrop

  • Shift-Command-T: แสดงหรือซ่อนแถบแท็บในหน้าต่าง Finder

  • Control-Shift-Command-T: เพิ่มรายการ Finder ที่เลือกลงใน Dock (OS X Mavericks หรือใหม่กว่า)

  • Shift-Command-U: เปิดโฟลเดอร์ยูทิลิตี้

  • Option-Command-D: กดเพื่อแสดงหรือซ่อน Dock

  • Control-Command-T: เพิ่มรายการที่เลือกไปยังแถบด้านข้าง (OS X Mavericks หรือใหม่กว่า)

  • Option-Command-P: ซ่อนหรือแสดงแถบเส้นทางในหน้าต่าง Finder

  • Option-Command-S: ซ่อนหรือแสดงแถบด้านข้างในหน้าต่าง Finder

  • Command–เครื่องหมายทับ (/): ซ่อนหรือแสดงแถบสถานะในหน้าต่าง Finder

  • Command-J: แสดงตัวเลือกมุมมอง

  • Command-K: เปิดหน้าต่างเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์

  • Control-Command-A: สร้างนามแฝงของรายการที่เลือก

  • Command-N: เปิดหน้าต่าง Finder ใหม่

  • Option-Command-N: สร้างโฟลเดอร์อัจฉริยะใหม่

  • Command-T: แสดงหรือซ่อนแถบแท็บเมื่อมีการเปิดแท็บเดียวในหน้าต่าง Finder ปัจจุบัน

  • Option-Command-T: แสดงหรือซ่อนแถบเครื่องมือ เมื่อมีการเปิดแท็บเดียวในหน้าต่าง Finder ปัจจุบัน

  • Option-Command-V: ย้ายไฟล์ในคลิปบอร์ดจากตำแหน่งที่ตั้งเดิมมายังตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบัน

  • Command-Y: ใช้การดูแบบผ่านๆ เพื่อดูตัวอย่างไฟล์ที่เลือก

  • Option-Command-Y: ดูสไลด์โชว์การดูแบบผ่านๆ ของไฟล์ที่เลือก

  • Command-1: ดูรายการในหน้าต่าง Finder เป็นไอคอน

  • Command-2: ดูรายการในหน้าต่าง Finder เป็นรายการ

  • Command-3: ดูรายการในหน้าต่าง Finder ในคอลัมน์

  • Command-4: ดูรายการในหน้าต่าง Finder ในคลัง

  • Command–วงเล็บก้ามปูซ้าย ([): ไปยังโฟลเดอร์ก่อนหน้า

  • Command–วงเล็บก้ามปูขวา (]): ไปยังโฟลเดอร์ถัดไป

  • Command–ลูกศรขึ้น: เปิดโฟลเดอร์ที่มีโฟลเดอร์ปัจจุบัน

  • Command–Control–ลูกศรขึ้น: เปิดโฟลเดอร์ที่มีโฟลเดอร์ปัจจุบันในหน้าต่างใหม่

  • Command–ลูกศรลง: เปิดรายการที่เลือก

  • ลูกศรขวา: เปิดโฟลเดอร์ที่เลือก คำสั่งนี้จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในมุมมองรายการเท่านั้น

  • ลูกศรซ้าย: ปิดโฟลเดอร์ที่เลือก คำสั่งนี้จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในมุมมองรายการเท่านั้น

  • Command-Delete: ย้ายรายการที่เลือกไปที่ถังขยะ

  • Shift-Command-Delete: ล้างถังขยะ

  • Option-Shift-Command-Delete: ล้างถังขยะโดยไม่มีกล่องโต้ตอบการยืนยัน

  • Command–ลดความสว่างจอภาพ: เปิดหรือปิดการสะท้อนวิดีโอเมื่อเชื่อมต่อ Mac กับจอแสดงผลมากกว่าหนึ่งจอ

  • Option–เพิ่มความสว่าง: เปิดการตั้งค่าจอแสดงผล จะทำงานร่วมกับปุ่มความสว่างทุกปุ่ม

  • Control–เพิ่มความสว่าง หรือ Control–ลดความสว่าง: ปรับความสว่างของจอแสดงผลภายนอก หากจอแสดงผลของคุณรองรับ

  • Option–Shift–เพิ่มความสว่าง หรือ Option–Shift–ลดความสว่าง: ปรับความสว่างของจอแสดงผลในระดับที่น้อยกว่า เพิ่มการกดปุ่ม Control ร่วมกับการกดปุ่มลัดนี้เพื่อปรับความสว่างของจอแสดงผลภายนอก หากจอแสดงผลของคุณรองรับ

  • Option–Mission Control: เปิดการตั้งค่า Mission Control

  • Command–Mission Control: แสดงเดสก์ท็อป

  • Control–ลูกศรลง: แสดงหน้าต่างทั้งหมดของแอปด้านหน้า

  • Option–เพิ่มเสียง: เปิดการตั้งค่าเสียง คำสั่งนี้จะทำงานร่วมกับปุ่มปรับระดับเสียงได้ทุกปุ่ม

  • Option–Shift–เพิ่มเสียง หรือ Option–Shift–ลดเสียง: ปรับระดับเสียงในระดับที่น้อยกว่า

  • Option–ปุ่มเพิ่มความสว่างคีย์บอร์ด: เปิดการตั้งค่าคีย์บอร์ด ซึ่งใช้ได้กับปุ่มความสว่างทุกปุ่ม

  • Option–Shift–ปุ่มเพิ่มความสว่างคีย์บอร์ด หรือ Option–Shift–ปุ่มลดความสว่างคีย์บอร์ด: ปรับความสว่างของคีย์บอร์ดในระดับที่น้อยกว่า

  • กดปุ่ม Option ในขณะที่คลิกสองครั้ง: เปิดรายการในหน้าต่างแยกต่างหาก แล้วปิดหน้าต่างเดิม

  • กดปุ่ม Command ในขณะที่คลิกสองครั้ง: เปิดโฟลเดอร์ในแท็บหรือหน้าต่างแยกต่างหาก

  • กดปุ่ม Command ในขณะที่ลากไปยังอีกโวลุ่ม: ย้ายรายการที่ลากไปยังโวลุ่มอื่น แทนที่จะใช้วิธีคัดลอก

  • กดปุ่ม Option ในขณะที่ลาก: คัดลอกรายการที่ลาก ตัวชี้จะเปลี่ยนไปขณะที่คุณลากรายการ

  • กดปุ่ม Option-Command ขณะลาก: สร้างนามแฝงของรายการที่ลาก ตัวชี้จะเปลี่ยนไปขณะที่คุณลากรายการ

  • กดปุ่ม Option-คลิกสามเหลี่ยมแสดงผล: เปิดโฟลเดอร์ทั้งหมดภายในโฟลเดอร์ที่เลือก คำสั่งนี้จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในมุมมองรายการเท่านั้น

  • กด Command-คลิกชื่อหน้าต่าง: ดูโฟลเดอร์ที่มีโฟลเดอร์ปัจจุบัน

  • เรียนรู้วิธีการใช้ Command หรือ Shift เพื่อเลือกรายการใน Finder

  • คลิกเมนู "ไป" ในแถบเมนู Finder เพื่อดูปุ่มลัดสำหรับการเปิดโฟลเดอร์ที่ใช้โดยทั่วไปหลายโฟลเดอร์ เช่น แอปพลิเคชัน เอกสาร รายการดาวน์โหลด ยูทิลิตี้ และ iCloud Drive

ปุ่มลัดเอกสาร

ลักษณะการทำงานของปุ่มลัดเหล่านี้อาจแตกต่างไปตามแอปที่คุณกำลังใช้

  • Command-B: ทำข้อความที่เลือกให้เป็นตัวพิมพ์หนา หรือเปิด/ปิดการทำให้เป็นตัวพิมพ์หนา

  • Command-I: ทำข้อความที่เลือกให้เป็นตัวเอียง หรือเปิด/ปิดการทำให้เป็นตัวเอียง

  • Command-K: เพิ่มเว็บลิงก์

  • Command-U: ขีดเส้นใต้ข้อความที่เลือก หรือเปิด/ปิดการขีดเส้นใต้

  • Command-T: แสดงหรือซ่อนหน้าต่างแบบอักษร

  • Command-D: เลือกโฟลเดอร์เดสก์ท็อปจากภายในกล่องโต้ตอบ "เปิด" หรือกล่องโต้ตอบ "บันทึก"

  • Control-Command-D: แสดงหรือซ่อนคำจำกัดความของคำที่เลือก

  • Shift-Command-เครื่องหมายทวิภาค (:): แสดงหน้าต่างการสะกดและไวยากรณ์

  • Command-เครื่องหมายอัฒภาค (;): หาคำที่สะกดผิดในเอกสาร

  • Option-Delete: ลบคำที่ด้านซ้ายของจุดแทรก

  • Control-H: ลบอักขระที่ด้านซ้ายของจุดแทรก หรือใช้ Delete

  • Control-D: ลบอักขระที่ด้านขวาของจุดแทรก หรือใช้ Fn-Delete

  • Fn-Delete: ลบแบบไปข้างหน้าบนคีย์บอร์ดที่ไม่มีปุ่มลบข้างหน้า หรือใช้ Control-D

  • Control-K: ลบข้อความระหว่างจุดแทรกกับส่วนท้ายของบรรทัดหรือย่อหน้า

  • Fn–ลูกศรขึ้น: Page Up: เลื่อนขึ้นหนึ่งหน้า

  • Fn–ลูกศรลง: Page Down: เลื่อนลงหนึ่งหน้า

  • Fn–ลูกศรซ้าย: เริ่มต้น: เลื่อนไปที่ส่วนเริ่มต้นของเอกสาร

  • Fn–ลูกศรขวา: End: เลื่อนไปที่ส่วนท้ายของเอกสาร

  • Command–ลูกศรขึ้น: ย้ายจุดแทรกไปยังส่วนเริ่มต้นของเอกสาร

  • Command–ลูกศรลง: ย้ายจุดแทรกไปยังส่วนท้ายของเอกสาร

  • Command–ลูกศรซ้าย: ย้ายจุดแทรกไปยังส่วนเริ่มต้นของบรรทัดปัจจุบัน

  • Command–ลูกศรขวา: ย้ายจุดแทรกไปยังส่วนท้ายของบรรทัดปัจจุบัน

  • Option–ลูกศรซ้าย: ย้ายจุดแทรกไปยังส่วนเริ่มต้นของคำก่อนหน้า

  • Option–ลูกศรขวา: ย้ายจุดแทรกไปยังส่วนท้ายของคำถัดไป

  • Shift–Command–ลูกศรขึ้น: เลือกข้อความที่อยู่ระหว่างจุดแทรกกับส่วนเริ่มต้นของเอกสาร

  • Shift–Command–ลูกศรซ้ายลง: เลือกข้อความที่อยู่ระหว่างจุดแทรกกับส่วนท้ายของเอกสาร

  • Shift–Command–ลูกศรซ้าย: เลือกข้อความที่อยู่ระหว่างจุดแทรกกับส่วนเริ่มต้นของบรรทัดปัจจุบัน

  • Shift–Command–ลูกศรขวา: เลือกข้อความระหว่างจุดแทรกกับส่วนท้ายของบรรทัดปัจจุบัน

  • Shift–ลูกศรขึ้น: ขยายการเลือกข้อความไปถึงอักขระที่อยู่ใกล้ที่สุดในตำแหน่งแนวนอนเดียวกันในบรรทัดบน

  • Shift–ลูกศรลง: ขยายการเลือกข้อความไปถึงอักขระที่อยู่ใกล้ที่สุดในตำแหน่งแนวนอนเดียวกันในบรรทัดล่าง

  • Shift–ลูกศรซ้าย: ขยายการเลือกข้อความไปทางซ้ายหนึ่งอักขระ

  • Shift–ลูกศรขวา: ขยายการเลือกข้อความไปทางขวาหนึ่งอักขระ

  • Option–Shift–ลูกศรขึ้น: ขยายการเลือกข้อความไปถึงจุดเริ่มต้นย่อหน้าปัจจุบัน จากนั้นหากกดอีกครั้งจะเลือกไปถึงจุดเริ่มต้นย่อหน้าถัดไป

  • Option–Shift–ลูกศรลง: ขยายการเลือกข้อความไปถึงจบย่อหน้าปัจจุบัน จากนั้นหากกดอีกครั้งจะเลือกไปถึงจบย่อหน้าถัดไป

  • Option–Shift–ลูกศรซ้าย: ขยายการเลือกข้อความไปถึงจุดเริ่มต้นคำปัจจุบัน จากนั้นหากกดอีกครั้งจะเลือกไปถึงจุดเริ่มต้นคำถัดไป

  • Option–Shift–ลูกศรขวา: ขยายการเลือกข้อความไปถึงจบคำปัจจุบัน จากนั้นหากกดอีกครั้งจะเลือกไปถึงจบคำถัดไป

  • Control-A: ย้ายไปยังจุดเริ่มต้นของบรรทัดหรือย่อหน้า

  • Control-E: ย้ายไปยังจบบรรทัดหรือย่อหน้า

  • Control-F: ย้ายหนึ่งอักขระไปข้างหน้า

  • Control-B: ย้ายหนึ่งอักขระไปข้างหลัง

  • Control-L: วางเคอร์เซอร์หรือรายการที่เลือกไว้ตรงกลางในพื้นที่ที่มองเห็น

  • Control-P: เลื่อนขึ้นหนึ่งบรรทัด

  • Control-N: เลื่อนลงหนึ่งบรรทัด

  • Control-O: แทรกบรรทัดใหม่หลังจากจุดแทรก

  • Control-T: สลับอักขระด้านหลังจุดแทรกกับอักขระที่อยู่หน้าจุดแทรก

  • Command–วงเล็บปีกกาด้านซ้าย ({): จัดชิดซ้าย

  • Command–วงเล็บปีกกาด้านขวา (}): จัดชิดขวา

  • Shift–Command–เครื่องหมายขีดตั้ง (|): จัดกึ่งกลาง

  • Option-Command-F: ไปที่ช่องค้นหา

  • Option-Command-T: แสดงหรือซ่อนแถบเครื่องมือในแอป

  • Option-Command-C: คัดลอกลักษณะ: คัดลอกการตั้งค่าการจัดรูปแบบของรายการที่เลือกไปยังคลิปบอร์ด

  • Option-Command-V: วางลักษณะ: ใช้ลักษณะที่คัดลอกไว้กับรายการที่เลือก

  • Option-Shift-Command-V: วางและปรับลักษณะให้ตรงกัน: ใช้ลักษณะของคอนเทนต์ที่อยู่รอบๆ กับรายการที่วางอยู่ภายในคอนเทนต์นั้น

  • Option-Command-I: แสดงหรือซ่อนหน้าต่างตัวตรวจสอบ

  • Shift-Command-P: ตั้งค่าหน้ากระดาษ: แสดงหน้าต่างเพื่อเลือกการตั้งค่าเอกสาร

  • Shift-Command-S: แสดงกล่องโต้ตอบ "บันทึกเป็น" หรือทำสำเนาเอกสารปัจจุบัน

  • Shift–Command–เครื่องหมายลบ (-): ลดขนาดของรายการที่เลือก

  • Shift–Command–เครื่องหมายบวก (+): เพิ่มขนาดของรายการที่เลือก Command–เครื่องหมายเท่ากับ (=) ทำหน้าที่เดียวกัน

  • Shift–Command–เครื่องหมายคำถาม (?): เปิดเมนูวิธีใช้

ปุ่มลัดการช่วยการเข้าถึง

หากต้องการใช้ปุ่มลัดการมองเห็นเหล่านี้ ก่อนอื่นให้เลือกเมนู Apple  > การตั้งค่าระบบ (หรือการกำหนดค่าระบบ) จากนั้นคลิกแป้นพิมพ์ คลิกปุ่มลัดแป้นพิมพ์ เลือกการช่วยการเข้าถึงทางด้านซ้าย จากนั้นเลือก "กลับสี" และ "ความต่างระดับสี" ทางด้านขวา

  • Control-Option-Command-8: กลับสี

  • Control-Option-Command-เครื่องหมายจุลภาค (,) และ Control-Option-Command-เครื่องหมายจุด (.): ลดและเพิ่มความต่างระดับสี

ใช้ปุ่มลัดเหล่านี้เพื่อเปลี่ยนโฟกัสแป้นพิมพ์ หากต้องการใช้ปุ่มลัดเหล่านี้ ก่อนอื่นให้เลือกเมนู Apple  > การตั้งค่าระบบ (หรือการกำหนดค่าระบบ) จากนั้นคลิกแป้นพิมพ์ คลิกปุ่มลัดแป้นพิมพ์ เลือกแป้นพิมพ์ทางด้านซ้าย จากนั้นเลือกการตั้งค่าปุ่มลัดทางด้านขวา

  • Control-F2 หรือ Fn-Control-F2: ย้ายโฟกัสไปยังแถบเมนู จากนั้นคุณสามารถใช้ปุ่มลูกศรเพื่อไปยังเมนูต่างๆ กด Return เพื่อเปิดเมนูที่เลือกหรือเลือกรายการเมนู หรือพิมพ์ชื่อรายการเมนูเพื่อข้ามไปยังรายการนั้นในเมนูที่เลือก

  • Control-F3 หรือ Fn-Control-F3: ย้ายโฟกัสไปยัง Dock

  • Control-F4 หรือ Fn-Control-F4: ย้ายโฟกัสไปยังหน้าต่างที่ใช้งานอยู่หรือหน้าต่างถัดไป

  • Control-F5 หรือ Fn-Control-F5: ย้ายโฟกัสไปยังแถบเครื่องมือหน้าต่าง

  • Control-F6 หรือ Fn-Control-F6: ย้ายโฟกัสไปยังหน้าต่างลอย

  • Control-Shift-F6: ย้ายโฟกัสไปยังแผงก่อนหน้า

  • Control-F7 หรือ Fn-Control-F7: เปลี่ยนวิธีที่แท็บย้ายโฟกัส ระหว่างการนำทางของตัวควบคุมทั้งหมดบนหน้าจอ หรือเฉพาะกล่องข้อความและรายการ

  • Control-F8 หรือ Fn-Control-F8: ย้ายโฟกัสไปยังเมนูสถานะในแถบเมนู

  • Command–Grave accent (`): เปิดใช้งานหน้าต่างที่เปิดอยู่ถัดไปในแอปด้านหน้า

  • Shift–Command–Grave accent (`): เปิดใช้งานหน้าต่างที่เปิดอยู่ก่อนหน้าในแอปด้านหน้า

  • Option–Command–Grave accent (`): ย้ายโฟกัสไปยังลิ้นชักหน้าต่าง

  • Tab และ Shift-Tab: ย้ายไปยังตัวควบคุมถัดไป และย้ายไปยังตัวควบคุมก่อนหน้า

  • Control-Tab: ย้ายไปยังตัวควบคุมถัดไปเมื่อเลือกช่องข้อความ

  • Control-Shift-Tab: ย้ายไปยังการจัดกลุ่มตัวควบคุมก่อนหน้า

  • ปุ่มลูกศร: ย้ายไปยังรายการที่อยู่ติดกันในรายการ กลุ่มแท็บ หรือเมนู หรือย้ายแถบเลื่อนและตัวปรับ (ลูกศรขึ้นเพื่อเพิ่มค่า ลูกศรลงเพื่อลดค่า)

  • Control–ปุ่มลูกศร: ย้ายไปยังตัวควบคุมที่อยู่ติดกับช่องข้อความ

ปุ่มลัดการช่วยการเข้าถึงอื่นๆ:

หากคุณใช้ VoiceOver คุณอาจต้องทำให้ VoiceOver ไม่สนใจการกดปุ่มถัดไป ก่อนที่คุณจะสามารถใช้ปุ่มลัดบางอย่างในบทความนี้ได้

ปุ่มลัดอื่นๆ

ดูเพิ่มเติม

วันที่เผยแพร่: