อภิธานศัพท์
- ก้อนสต็อมป์บ็อกซ์
แป้นเหยียบเอฟเฟ็กต์กีตาร์ที่สามารถถูกเปิดใช้หรือปิดใช้ได้อย่างรวดเร็วโดยการกดปุ่มด้วยเท้าของมือกีตาร์ ใน GarageBand แทร็คกีตาร์ไฟฟ้าแต่ละแทร็คจะมีชุดเอฟเฟ็กต์ก้อนสต็อมป์บ็อกซ์ที่คุณสามารถเพิ่มและแก้ไขได้
- การบิดเบือน
(1) เสียงหยาบหรือคมที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อระดับความดังเกินกว่าที่อุปกรณ์เสียงนั้นจะสามารถสร้างเสียงให้ชัดเจนได้ (2) เอฟเฟ็กต์ที่ใช้เพื่อสร้างเสียงที่หยาบขึ้นและดังขึ้น คล้ายกับโอเวอร์ไดรฟ์
- การเปลี่ยนระดับอัตโนมัติ
คุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้คุณสร้างการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไปในโปรเจ็กต์ได้ GarageBand มีการปรับระดับโค้งอัตโนมัติสำหรับแต่ละแทร็ค รวมถึงแทร็คมาสเตอร์ คุณสามารถให้เสียง การแพน เทมโป และการตั้งค่าอื่นๆ ทำงานอัตโนมัติได้โดยการเพิ่มจุดควบคุมการทำงานอัตโนมัติในการปรับระดับโค้งอัตโนมัติ จากนั้นลากจุดควบคุมการทำงานอัตโนมัติเพื่อปรับเปลี่ยนการตั้งค่าในช่วงเวลาต่างๆ
- เกน
คล้ายกับความดัง แต่จะหมายถึงการเพิ่มระดับของสัญญาณเสียงอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ คุณสามารถปรับเกนบนแอมป์ในแทร็คกีตาร์ไฟฟ้า เพื่อทำให้เสียงเบาลงและชัดเจนขึ้น หรือดังขึ้นและมีการบิดเบือนมากขึ้น
- ขั้นคู่ครึ่งเสียง
ระยะทางหรือช่วงที่สั้นที่สุดระหว่างตัวโน้ตสองตัว ระยะทางที่ยาวกว่านั้นจะถูกวัดด้วยจำนวนของเซมิโทน ระหว่างแต่ละออกเทฟจะมี 12 เซมิโทน
- ขั้นคู่แปด
ตัวโน้ตที่อาจเป็นระดับเสียงของโน้ตแบบสองครั้งหรือแบบครึ่งหนึ่ง โน้ตที่ต่างกันหนึ่งขั้นคู่แปดมีเสียงคล้ายกัน และถือว่าเป็นโน้ตเดียวกันในบันไดเสียง (A, B, C, และอื่นๆ) มี 12 เซมิโทน ระหว่างตัวโน้ตสองตัวที่ห่างกันหนึ่งขั้นคู่แปด
- ขาดหาย, สัญญาณขาดหาย
หมายถึง การบิดเบือนของเสียง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระดับความดังสูงเกินกว่าที่ลำโพงหรืออุปกรณ์อื่นจะสามารถสร้างเสียงให้ชัดเจนได้ มิเตอร์วัดระดับแทร็ค (อยู่ที่ส่วนหัวของแทร็ค) จะส่องแสงสีแดงเมื่อเกิดสัญญาณขาดหายบนแทร็ค
- ขีดบน
กลุ่มของจังหวะเคาะปกติจะได้ยินพร้อมกันเป็นจังหวะหยุดยาวๆ ของเสียงดนตรี สัญลักษณ์กำหนดจังหวะของโปรเจ็กต์ จะแสดงจำนวนของจังหวะเคาะในแต่ละห้อง และค่าตัวโน้ตของแต่ละบีท ในสัญลักษณ์ทางดนตรี เส้นแนวตั้งจะแยกห้องของเพลง
- คลัง
พื้นที่ใน GarageBandซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านซ้ายของพื้นที่แทร็ค ที่คุณสามารถดูและเลือกแพตช์สำหรับแทร็คที่เลือกได้ ให้ดูที่แพตช์ร่วมด้วย
- คลาฟ
คำย่อสำหรับ คลาวิคอร์ด เครื่องดนตรีแบบคีย์บอร์ด เสียงคลาวิคอร์ดสร้างโดยการดึงสายเป็นคอร์ด แทนที่จะเป็นการตีสายเป็นคอร์ด เสียงจะคล้ายกับกีต้าร์มากกว่าเปียโน GarageBand มีเสียงของเครื่องดนตรีซอฟต์แวร์แบบคลาฟมากมาย
- ความดัง
การสัมผัสความดังของเสียง วัดเป็นเดซิเบล GarageBand ให้คุณควบคุมความดังโดยรวมของโปรเจ็กต์ได้โดยใช้ตัวเลื่อนความดังมาสเตอร์ และควบคุมความดังของแต่ละแทร็คโดยใช้ตัวเลื่อนความดังในแต่ละส่วนหัวของแทร็ค
- คอร์ด
ชุดของโน้ตที่เล่นพร้อมกัน คอร์ดอาจเป็นได้ทั้งเมเจอร์หรือไมเนอร์ และยังสามารถเพิ่มโน้ตตัวที่เจ็ด (7th) หรือโน้ตอื่นๆ ได้ เมื่อคุณเล่นคอร์ดบนแทร็คเครื่องดนตรีซอฟต์แวร์ ชื่อคอร์ดจะแสดงใน LCD
- คอรัส
(1) ส่วนของเพลงที่มักจะเล่นซ้ำระหว่างท่อน (2) เอฟเฟ็กต์ที่ใช้ในการสร้างเสียง หรือเครื่องดนตรีหลายๆชนิด ที่ถูกเล่นพร้อมกัน โดยซ้อนเสียงกัน และมีการปรับจังหวะเวลาของการเล่นซ้ำเล็กน้อย
- คีย์
ศัพท์ดนตรีสำหรับมาตรวัด (กลุ่มตัวโน้ต) เริ่มจากตัวโน้ตเฉพาะหรือระดับเสียง โน้ตตัวนั้นเรียกว่า ราก หรือ โทนิค ของบันไดเสียง ใน GarageBandคุณสามารถตั้งค่าคีย์เมื่อคุณสร้างโปรเจ็กต์ใหม่ และสามารถเปลี่ยนได้ใน LCD ในขณะที่คุณกำลังทำงานกับโปรเจ็กต์
- เครื่องดนตรีซอฟต์แวร์
ใน GarageBandการอัดเสียงจาก USB หรือคีย์บอร์ด MIDI เรียกว่า เครื่องดนตรีซอฟต์แวร์ เมื่อคุณเล่นโปรเจ็กต์ คอมพิวเตอร์ของคุณจะสร้างเสียงของเครื่องดนตรีซอฟต์แวร์ในโปรเจ็กต์ GarageBand มีแทร็คเครื่องดนตรีซอฟต์แวร์ ซึ่งคุณสามารถอัดและแก้ไขเสียงอัดและลูปของเครื่องดนตรีซอฟต์แวร์ได้ แต่ละแถบของการอัดเครื่องดนตรีซอฟต์แวร์เรียกว่า แถบ MIDI
- จังหวะ
โดยปกติ อัตราการเต้นของจังหวะของส่วนใดๆ ของเพลงจะซ้ำกัน สัญลักษณ์กำหนดจังหวะของโปรเจ็กต์ จะแสดงจำนวนของจังหวะเคาะในแต่ละห้อง และค่าตัวโน้ตของแต่ละบีท ให้ดูที่ห้องร่วมด้วย
- จังหวะนับเข้า
คำศัพท์สำหรับกลุ่มจังหวะของเมโทรโนมที่ส่งเสียงก่อนการเริ่มต้นการอัด (หรือการเล่น) โดยทั่วไปแล้วจะเป็นจำนวนหนึ่งห้อง การใช้จังหวะนับเข้าสามารถช่วยให้คุณเตรียมพร้อมที่จะอัดเสียงได้ตรงกับเทมโปของโปรเจ็กต์ แถบควบคุมจะมีปุ่มจังหวะนับเข้า อยู่เพื่อควบคุมจังหวะนับเข้า
- จังหวะเวลา
ความแม่นยำของโน้ตและกิจกรรมดนตรีอื่นๆ ที่จัดแนวกับห้องและจังหวะของเพลง หรือกับค่าเฉพาะของโน้ต
- จูน, จูนเนอร์
ในการปรับลูกบิดจูนเสียงบนส่วนหัวของกีตาร์ให้ตรงกับระดับเสียงมาตรฐานอ้างอิง (อิงจาก A = 440Hz) GarageBand มีจูนเนอร์ที่คุณสามารถใช้ดูการจูนกีตาร์ของคุณในขณะทำงานในโปรเจ็กต์หรือกำลังเรียนบทเรียนอยู่ได้
- เดซิเบล (dB)
วิธีในการวัดความดังหรือความดังของเสียง บนมาตราเดซิเบล 1 dB จะเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของความดังที่น้อยที่สุดที่หูของมนุษย์จะสามารถตรวจจับได้โดยประมาณ
- ไดนามิก
(1) ความแตกต่างระหว่างความดังที่เบาที่สุดกับระดับความดังที่ดังที่สุดของเสียงหรือแทร็ค บางครั้งเรียกว่า ช่วงไดนามิก (2) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ
- ตรวจรับสัญญาณเสียง, การตรวจรับสัญญาณเสียง
ในการฟังเสียงเครื่องดนตรีหรือไมโครโฟนที่เชื่อมต่อกับช่องสัญญาณเข้าของแทร็คในขณะที่คุณเล่นหรืออัดเสียงใน GarageBand ในบางสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกำลังใช้ลำโพงคอมพิวเตอร์แทนหูฟัง คุณอาจต้องการปิดตรวจรับสัญญาณเพื่อป้องกันเสียงหวีดหอน
- ตัวแก้ไข
พื้นที่ส่วนหนึ่งของ GarageBand ที่แสดงภาพแบบโคลสอัพของส่วนของแทร็คในพื้นที่แทร็ค คุณสามารถแก้ไขแถบได้จากทั้งเสียงอัด และ Apple Loop ในตัวแก้ไข ซึ่งจะอยู่ด้านล่างของพื้นที่แทร็ค สิ่งที่ตัวแก้ไขแสดง และประเภทของการแก้ไขที่คุณสามารถทำได้ จะขึ้นอยู่กับประเภทของแทร็คที่เลือก ว่าเป็นแทร็คเสียงหรือแทร็คเครื่องดนตรีซอฟต์แวร์
- ตัวแก้ไข Drummer
ตัวแก้ไขใน GarageBand ที่ทำให้คุณสามารถแก้ไขลักษณะการเล่นของ Drummer เสมือนจริงโดยการเลือกค่าที่ตั้งไว้และการปรับการตั้งค่าแต่ละรายการ รวมทั้งรูปแบบชุดอุปกรณ์ต่างๆ และการตั้งค่าการส่ง
- ตัวควบคุมหน้าจอ
ตัวการควบคุมที่คุณใช้เพื่อเปลี่ยนลักษณะต่างๆ ของแทร็คเสียง ตัวควบคุมหน้าจอจะติดป้ายไว้เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจลักษณะของเสียงที่ตัวควบคุมหน้าจอแต่ละตัวส่งผลถึง ให้ดูที่ Smart Control ร่วมด้วย
- ตัวชี้ตำแหน่ง
เส้นแนวตั้งในพื้นที่แทร็คแสดงถึงส่วนของโปรเจ็กต์ที่กำลังเล่นอยู่ในตอนนี้ หรือตำแหน่งเริ่มการเล่นเมื่อคุณคลิกปุ่มเล่น ตัวชี้ตำแหน่งจะยืดออกจากบนลงล่างของพื้นที่แทร็ค สามเหลี่ยมที่ด้านบนของตัวชี้ตำแหน่งจะแสดงตำแหน่งปัจจุบันบนเส้นบรรทัด
- ตัวบีบอัด
เอฟเฟ็กต์ที่ทำให้ความแตกต่างระหว่างส่วนที่เสียงดังที่สุดกับส่วนที่เบาที่สุดของเพลงหรือแทร็คลดน้อยลงเพื่อให้ได้เสียงที่เสมอกันมากขึ้น การบีบอัดสามารถทำให้แทร็คมีเสียงที่แม่นยำขึ้นหรือ “สั้นและแน่น” และทำให้เพลงมีเสียงที่ดีขึ้น เมื่อเล่นกับอุปกรณ์ที่มีช่วงไดนามิกแคบ GarageBand มีตัวบีบอัดในทุกๆ แทร็คเครื่องดนตรีและแทร็คมาสเตอร์
- ตัวเลือกโปรเจ็กต์
พื้นที่ที่คุณสร้างและเปิดโปรเจ็กต์ GarageBand เมื่อคุณเปิด GarageBand โปรแกรมจะเปิดไปที่ตัวเลือกโปรเจ็กต์ เพื่อให้คุณสามารถเปิดโปรเจ็กต์ล่าสุดหรือสร้างโปรเจ็กต์ใหม่จากแม่แบบได้อย่างรวดเร็ว คุณสามารถเลือกประเภทของโปรเจ็กต์ได้จากตัวเลือกโปรเจ็กต์ คุณยังสามารถเลือกและเปิดบทเรียนเรียนฝึกหัดเล่นจากตัวเลือกโปรเจ็กต์ และดู แสดงตัวอย่าง และดาวน์โหลดบทเรียนจากร้านบทเรียนได้
- แถบ
พื้นที่สี่เหลี่ยมบนพื้นที่แทร็คที่แสดงถึงเสียงอัด ลูป และไฟล์สื่อที่นำเข้าของคุณ ทุกครั้งที่คุณอัดเสียงเครื่องดนตรีหรือลากลูปไปที่พื้นที่แทร็ค คุณได้สร้างแถบที่บรรจุเพลงที่คุณอัด หรือเพลงในลูป มีแถบต่างๆ หลายประเภท ซึ่งจะมีสีแตกต่างกันในพื้นที่แทร็ค คุณสามารถเลือกแถบในพื้นที่แทร็คและแก้ไขได้หลายวิธี รวมทั้งการคัดลอกและวาง การลูป การปรับขนาด การแยกส่วนและการรวม การย้ายบันไดเสียง และการเปลี่ยนชื่อ
- แถบการจัดเรียง
ส่วนกล่องสี่เหลี่ยมยาวแปดห้องที่คุณสามารถเพิ่มไปที่โปรเจ็กต์ เพื่อสร้างส่วนที่ต่างออกไป เช่น อินโทร ท่อน หรือคอรัส คุณสามารถย้ายส่วนที่อยู่ในพื้นที่แทร็ค เพื่อเรียบเรียงโปรเจ็กต์อย่างรวดเร็ว แถบการเรียบเรียง สามารถเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เมื่อคุณได้เพิ่มวัตถุ (เสียงอัด หรือ ลูป) ไปยังโปรเจ็กต์และต้องการลองเรียบเรียงแบบอื่น
- แถบควบคุม
เครื่องมือในแนวนอนเหนือพื้นที่แทร็คที่มีกลุ่มของการควบคุมที่คุณสามารถใช้เพื่อแสดงหรือซ่อนส่วนต่างๆ ของ GarageBand ควบคุมการเล่น เปลี่ยนการตั้งค่าต่างๆของโปรเจ็กต์ และทำงานฟังก์ชั่นอื่นๆ หน้าต่าง เรียนฝึกหัดเล่น มีแถบควบคุมในตัวเอง ซึ่งมีตัวควบคุมที่คุณจะใช้ในขณะที่คุณกำลังใช้บทเรียนอยู่ โปรดดูที่หน้าต่างหลักใน GarageBand บน Mac สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
- แถบวนซ้ำ
แถบที่สามารถกำหนดได้ที่คุณใช้ในการอัดบนช่วงใดช่วงหนึ่งของโปรเจ็กต์ เพื่อใช้ในการอัดหลายเทค ในการกำหนดส่วนของโปรเจ็กต์ที่คุณต้องการจะอัดทับ ให้คุณเปิดแถบวนซ้ำ จากนั้นลากจุดสิ้นสุดของแถบวนซ้ำในพื้นที่ใต้ไม้บรรทัด ในขณะที่คุณกำลังอัด และเล่นโปรเจ็กต์ ตัวชี้ตำแหน่งจะกลับไปอยู่ที่จุดเริ่มของแถบวนซ้ำในทุกครั้งที่ตัวชี้ตำแหน่งไปถึงจุดสิ้นสุดของแถบวนซ้ำ
- เทค
คำศัพท์สำหรับหนึ่งชุดของการอัดสำหรับส่วนต่างๆ ในเพลง โดยปกตินักดนตรีจะอัดหลายเทคตามลำดับ จากนั้นเลือกใช้เทคที่ชอบที่สุด หรือแก้ไขส่วนที่ดีที่สุดให้เป็นเทคประกอบ หรือ “comp.” โดยการใช้แถบวนซ้ำ คุณจะสามารถอัดหลายเทคและเลือกใช้เฉพาะเทคที่คุณต้องการได้
- เทมโป
ความเร็วหรือสัดส่วนที่ซึ่งลักษณะจังหวะปรากฏในเพลงวัดเป็นจังหวะต่อนาที (bpm) เมื่อคุณสร้างโปรเจ็กต์ใหม่ คุณสามารถตั้งค่าเทมโปในตัวเลือกโปรเจ็กต์ได้
- แท็บ, แท็บเลเจอร์
ชนิดของสัญลักษณ์ทางดนตรีที่แสดงตำแหน่งที่ผู้เล่นจะวางนิ้วมือ ตัวอย่างเช่น บนเฟรตบอร์ดของกีตาร์ บทเรียนกีตาร์ใน GarageBand สามารถแสดงโน้ตและคอร์ดในแท็บ เช่นเดียวกับสัญลักษณ์มาตรฐาน
- แทร็ค
แถวในแนวนอนในพื้นที่แทร็คที่คุณใช้เพื่อจัดระเบียบเพลง และควบคุมเสียงของการอัด ลูป และเนื้อหาอื่นๆ ในโปรเจ็กต์ของคุณ คุณอัดเสียง เครื่องดนตรีและเสียงอื่นๆ และเรียบเรียงแถบที่สร้างขึ้นจากการอัด ลูป และเนื้อหาอื่นๆ ในแทร็ค มีแทร็คสามประเภทที่คุณสามารถใช้ได้ในโปรเจ็กต์ GarageBand: แทร็คเสียง แทร็คเครื่องดนตรีซอฟต์แวร์ และแทร็ค Drummer
- แทร็คกรู๊ฟ
แทร็คที่คุณสามารถตั้งค่าให้ตรง (เชื่อมข้อมูล) กับจังหวะเวลาของแทร็คอื่นๆ ในโปรเจ็กต์ เมื่อคุณเล่นโปรเจ็กต์ แทร็คอื่นๆ จะปรับจังหวะเวลาให้ตรงกับจังหวะเวลาของแทร็คกรู๊ฟ มีแค่แทร็คเดียวเท่านั้นในแต่ละโปรเจ็กต์ที่สามารถเป็นแทร็คกรู๊ฟได้
- แทร็คภาพยนตร์
แทร็คที่แสดงเฟรมของภาพยนตร์เป็นรูปขนาดย่อ จำนวนเฟรมที่แสดงจะขึ้นอยู่กับระดับการซูมของพื้นที่แทร็ค เฟรมทั้งหมดจะจัดแนวอยู่ทางซ้ายยกเว้นเฟรมสุดท้ายซึ่งจะจัดแนวอยู่ทางขวา
- แทร็คมาสเตอร์
แทร็คที่ควบคุมเสียงโดยรวมของทั้งโปรเจ็กต์ คุณสามารถแสดงแทร็คมาสเตอร์ในพื้นที่แทร็ค และแก้ไขความดังมาสเตอร์ ความดังสูงต่ำ และการปรับระดับโค้งเทมโปอัตโนมัติ ในแทร็คมาสเตอร์ได้ คุณสามารถเพิ่มหรือแก้ไขเอฟเฟ็กต์สำหรับแทร็คมาสเตอร์ในปุ่มแทร็คมาสเตอร์ในบานหน้าต่าง Smart Control ได้
- บันไดเสียง
คำศัพท์ทางดนตรีสำหรับกลุ่มของตัวโน้ตที่เกี่ยวข้องกันซึ่งสร้างพื้นฐานของเมโลดี้ ชุดของคอร์ด หรือทั้งเพลง บันไดเสียงที่แพร่หลายที่สุดคือบันไดเสียงเมเจอร์และบันไดเสียงไมเนอร์ เมื่อคุณตั้งค่าคีย์สำหรับโปรเจ็กต์ GarageBand คุณยังสามารถตั้งว่าจะใช้บันใดเสียงเมเจอร์หรือบันใดเสียงไมเนอร์ด้วย
- พื้นที่แทร็ค
พื้นที่แทร็ค ส่วนหลักของหน้าต่าง GarageBand พื้นที่แทร็คจะแสดงในลักษณะที่มองเห็นได้ของเวลาที่ย้ายจากซ้ายไปขวา คุณสร้างโปรเจ็กต์โดยการเพิ่มลูป เสียงอัด หรือเนื้อหาอื่นๆ ลงใน แทร็ค ในพื้นที่แทร็ค แทร็คแต่ละแทร็คจะวิ่งในแนวนอนไปตลอดพื้นที่แทร็คจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด และทำให้คุณสามารถจัดระเบียบและควบคุมเสียงของเครื่องดนตรีในโปรเจ็กต์ได้
- แพตช์
องค์ประกอบที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรี เอฟเฟ็กต์ และการตั้งค่ากำหนดเส้นทางซึ่งจะควบคุมเสียงของแทร็ค เมื่อคุณเลือกแพตช์ในคลัง การตั้งค่าเหล่านั้นจะปรับใช้กับแทร็คที่เลือกอยู่ในขณะนี้ ให้ดูที่คลังร่วมด้วย
- ฟัซซ์
คือการบิดเบือนอย่างรุนแรง โดยทั่วไปใช้กับแทร็คกีตาร์ไฟฟ้าเพื่อทำให้เสียงหนาและหยาบมากขึ้น GarageBand มีเอฟเฟ็กต์ก้อนสต็อมป์บ็อกซ์ฟัซซ์แมชชีน ที่คุณสามารถใช้ในแทร็คกีตาร์ไฟฟ้าได้
- ฟิลเตอร์
เอฟเฟ็กต์หนึ่งที่ปล่อยให้ความถี่เฉพาะบางย่านผ่านออกมาได้ ในขณะที่กั้น (“ฟิลเตอร์”) หรือเบาเสียงความถี่ย่านอื่นๆ GarageBand มีฟิลเตอร์ EQ ให้เลือกมากมาย และยังมีเอฟเฟ็กต์ Autofilter ด้วย
- เฟดเอาต์
เฟดเอาต์ สร้างขึ้นโดยการค่อยๆ ลดความดังของแทร็คหรือเพลงลงจนเงียบไป โดยปกติแล้วมักจะเป็นตอนสุดท้ายของเพลง ใน GarageBand คุณสามารถเพิ่มเฟดเอาต์อัตโนมัติลงในแทร็ค หรือเพิ่มเฟดอินหรือเฟดเอาต์ลงในการปรับระดับโค้งอัตโนมัติสำหรับความดังของแทร็คด้วยตนเองได้
- เฟสเซอร์
เอฟเฟ็กต์ที่เล่นเสียงซ้ำๆ โดยการเล่นซ้ำแต่ละครั้งจะเพี้ยนจากเฟสของต้นฉบับ เฟสเซอร์สร้างลักษณะของ “เสียงหวือ” ซึ่งคล้ายกับเครื่องบินเจ็ตบินผ่าน GarageBand มีเอฟเฟ็กต์เฟสเซอร์รวมทั้งเอฟเฟ็กต์ก้อนสต็อมป์บ็อกซ์เฟสเซอร์สำหรับแทร็คกีตาร์ไฟฟ้า
- มิกซ์, การมิกซ์
ในการผสมส่วนต่างๆ ของเพลงเข้าด้วยกันให้ติดต่อกันทั้งหมด คุณมิกซ์เพลงด้วยการปรับความดังของแทร็คที่เกี่ยวข้อง การแพนแทร็คไปที่ส่วนต่างๆ ของช่องสเตอริโอ การเพิ่มเติมเอฟเฟ็กต์ และการเปลี่ยนแปลงแทร็คมาสเตอร์ คุณยังสามารถใช้การทำงานอัตโนมัติเพื่อเปลี่ยนการมิกซ์ในส่วนต่างๆ ของเพลงได้อีกด้วย
- เมโทรโนม
อุปกรณ์ซึ่งทำตำแหน่งช่วงเวลาปกติ เช่น ท่วงทำนองดนตรี โดยแตะเสียง ใน GarageBandคุณจะใช้เมโทรโนมในขณะที่คุณอัดหรือเล่นโปรเจ็กต์ คุณยังสามารถมีจังหวะนับเข้าที่เริ่มนับหนึ่งห้องก่อนเริ่มการเล่นได้อีกด้วย
- โมโน, โมโนโฟนิค
ไมโครโฟนหรือเครื่องดนตรี (เช่น กีตาร์ไฟฟ้า) ที่มีช่องสัญญาณออกช่องเดียว โมโครโฟนหรือเครื่องดนตรีที่มีช่องสัญญาณออกทางด้านซ้ายและขวาจะเป็นสเตอริโอ เมื่อคุณเลือกแหล่งสัญญาณเข้าสำหรับไมโครโฟนหรือเครื่องดนตรีแล้ว คุณควรเลือกแหล่งสัญญาณให้ตรงกับรูปแบบ (โมโน หรือ สเตอริโอ) ของไมโครโฟนหรือเครื่องดนตรีนั้นๆ
- ไม้บรรทัด
เครื่องมือที่วิ่งตามแนวนอนตัดผ่านส่วนบนของพื้นที่แทร็ค และแสดงการแบ่งของเวลาเป็นห้องและจังหวะ หรือนาทีและวินาที
- ย้ายบันไดเสียง, การย้ายบันไดเสียง
ในการเปลี่ยนระดับเสียงของแถบ แทร็ค หรือโปรเจ็กต์ เพื่อให้เล่นในคีย์ที่ต่างกัน คุณสามารถย้ายบันไดเสียงแถบในแทร็คได้โดยใช้ตัวเลื่อนระดับเสียงในตัวแก้ไข และสามารถย้ายบันไดเสียงทุกส่วนของโปรเจ็กต์ได้โดยใช้การปรับระดับโค้งอัตโนมัติสำหรับระดับเสียงมาสเตอร์
- รอบทิศ
คำย่อสำหรับ รอบทิศทาง ตำแหน่งของเสียงในบริเวณสเตอริโอระหว่างลำโพงซ้ายและขวา เสียงแทร็ครอบทิศช่วยสร้างความรู้สึกถึงทิศทางที่ส่งเสียงมา คุณสามารถปรับตำแหน่งการแพนสำหรับแทร็คเครื่องดนตรีได้โดยใช้ลูกบิดการแพนในส่วนหัวของแทร็ค
- ระดับเสียง
สัมผัสเสียงสูงหรือเสียงต่ำ ในดนตรี ระดับเสียงจะถูกอธิบายด้วยตัวโน้ตดนตรี ในทางวิทยาศาสตร์ ระดับเสียงคือความถี่เสียง ซึ่งโดยปกติแล้วนับเป็นรอบต่อวินาที
- รีมิกซ์
ในการสร้างเวอร์ชั่นใหม่ของเพลงด้วยการเพิ่มหรือย้ายข้อมูล เปลี่ยนแปลงเอฟเฟ็กต์ และการแก้ไขอื่นๆ เพื่อให้เวอร์ชั่นใหม่มีความแตกต่างจากเดิม
- ล็อค (แทร็ค)
คุณสมบัติที่คุณสามารถใช้เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงแทร็คโดยไม่ตั้งใจ ในขณะที่แทร็คล็อคอยู่ คุณไม่สามารถอัดเสียงหรือแก้ไขหรือสร้างแถบใหม่บนแทร็คนั้นได้ คุณล็อคและปลดล็อคแทร็คได้โดยใช้ปุ่มล็อค ที่ส่วนหัวของแทร็คแต่ละรายการ
- ลูป
(1) เสียงที่อัดไว้หรือแถบ MIDI ที่ออกมาแบบให้เล่นซ้ำๆ (2) การคัดลอกหรือสำเนาแถบเพื่อให้เล่นซ้ำหลายๆ รอบ ให้ดูที่ Apple Loop ร่วมด้วย
- เวลา Flex
สำหรับการแก้ไขเวลาของโน้ตและจังหวะในแถบเสียงโดยการใช้เครื่องหมาย Flex ในตัวแก้ไขเสียง คุณสามารถเพิ่มเครื่องหมาย Flex ที่ส่วนเฉพาะของรูปคลื่นเสียงที่คุณต้องการแก้ไข การคลิกที่จุดสูงสุดในรูปคลื่นเสียง (เรียกว่า ชั่วคราว) จะเพิ่มเครื่องหมาย Flex ที่คุณสามารถใช้เพื่อย้ายส่วนของรูปคลื่นเสียงเพื่อให้พอดีกับจังหวะหรือกับกิจกรรมหรือแทร็คอื่น เครื่องหมาย Flex ยังมีการเพิ่มที่ส่วนชั่วคราวก่อนหน้าและที่ตามมา หลังจากเพิ่มเครื่องหมาย Flex ไปยังแถบเสียง คุณจะใช้เครื่องหมายเพื่อยืดเวลา บีบอัด หรือขยายข้อมูลเสียง
- สเตอริโอ
โมโครโฟนหรือเครื่องดนตรีที่มีช่องสัญญาณออกทางด้านซ้ายและขวาแยกกัน โมโครโฟนหรือเครื่องดนตรีที่มีช่องสัญญาณออกเดียวจะเป็น โมโน เมื่อคุณเลือกแหล่งสัญญาณเข้าสำหรับไมโครโฟนหรือเครื่องดนตรีแล้ว คุณควรเลือกแหล่งสัญญาณให้ตรงกับรูปแบบ (โมโน หรือ สเตอริโอ) ของไมโครโฟนหรือเครื่องดนตรีนั้นๆ
- สัญลักษณ์
การแทนดนตรีด้วยภาพ แสดงโน้ต ตัวหยุด ห้อง และสัญลักษณ์ทางดนตรีอื่นๆ ตัวแก้ไข GarageBand มีมุมมองสกอร์ที่คุณสามารถดูแทร็คเครื่องดนตรีซอฟต์แวร์แบบเป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีได้
- สัญลักษณ์กำหนดจังหวะ
คำศัพท์ทางดนตรีที่กำหนดวิธีการแบ่งเวลาทางดนตรีเป็นห้องและจังหวะ ทุกๆ โปรเจ็กต์ GarageBand มีสัญลักษณ์กำหนดจังหวะที่ประกอบด้วยตัวเลขสองตัว และดูคล้ายกับเศษส่วน ตัวเลขแรกแสดงจำนวนของจังหวะในแต่ละห้อง และตัวเลขหลังแสดงค่าของจังหวะ (ประเภทของโน้ตที่มีหนึ่งจังหวะ)
- เส้นตาราง
เครื่องมือที่คุณสามารถใช้เพื่อจัดแนวรายการในพื้นที่แทร็คและตัวแก้ไขด้วยห้องและจังหวะในไม้บรรทัด เมื่อคุณเปิดตาราง การทำงานต่อไปนี้จะจัดชิดเส้นตารางที่ใกล้ที่สุดในพื้นที่แทร็ค: การลากลูป การย้ายและการปรับขนาดแถบ การเลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง การปรับแถบวนซ้ำ และการย้ายจุดการทำงานอัตโนมัติ
- เสียง
เสียง โดยเฉพาะเสียงที่ซึ่งถูกอัดเสียงหรือถูกโอนเป็นสัญญาณดิจิทัล ใน GarageBand การอัดจากไมโครโฟนหรือเครื่องดนตรีไฟฟ้าจะปรากฎขึ้นเป็นแถบเสียงในพื้นที่แทร็ค
- เสียงก้อง
คำย่อสำหรับ เสียงก้องกังวาน เอฟเฟ็กต์ที่สร้างเสียงของที่ว่างทางอะคูสติกต่างๆ ขึ้นใหม่ได้โดยการเล่นสำเนาของเสียงในเวลาและระดับความดังที่แตกต่างไปเล็กน้อย ใน GarageBandทุกๆ แทร็คมีเอฟเฟ็กต์เสียงก้องมาสเตอร์ และคุณสามารถเพิ่มเอฟเฟ็กต์เสียงก้องแทร็คที่มีการตั้งค่าที่แตกต่างกันได้
- เสียงสะท้อน
เอฟเฟ็กต์ที่เสียงจะถูกเล่นซ้ำๆ ตามหลัง ซึ่งมักจะสร้างความรู้สึกเหมือนเสียงนั้นเกิดขึ้นในสถานที่กว้าง บางครั้งอาจจะเรียกได้ว่า การหน่วง
- เสียงหลัก
ระบบไดรเวอร์เสียงที่เป็นมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ Macintosh ทุกรุ่นที่ใช้ macOS Core Audio คือส่วนประกอบสำคัญของ macOS ที่อนุญาตการเข้าถึงอินเทอร์เฟซเสียงทั้งหมดที่ใช้งานร่วมกับ Core Audio ได้ GarageBand ใช้ได้กับฮาร์ดแวร์เสียงที่ใช้กับเสียงหลักได้
- หน้าต่างเลือกลูป
พื้นที่ใน GarageBand ที่คุณสามารถค้นหาลูปที่มีเครื่องดนตรี ประเภท และอารมณ์ที่คุณต้องการ ฟังตัวอย่าง และเพิ่มลงโปรเจ็กต์ได้อย่างรวดเร็ว หน้าต่างเลือกลูปมีมุมมองสองแบบ: มุมมองคอลัมน์ และ มุมมองปุ่ม คุณยังสามารถกำหนดหน้าต่างเลือกลูปเองให้เหมาะสมกับวิธีการทำงานของคุณได้อีกด้วย เมื่อคุณเปิดหน้าต่างเลือกลูป หน้าต่างจะแสดงขึ้นทางด้านขวาของพื้นที่แทร็ค
- หมายเหตุ
ศัพท์ดนตรีสำหรับระดับเสียงหรือความถี่ของเสียง บันไดเสียงที่แพร่หลายที่สุด รวมทั้งบันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ จะมีโน้ต 7 ตัว จาก A ถึง G ส่วนบันไดเสียงโครมาติกจะมีโน้ต 12 ตัว
- หัวแถบแทร็ค
พื้นที่ในทุกๆ แทร็คที่แสดงชื่อแทร็คและไอคอนแทร็ค ส่วนหัวของแทร็คแต่ละรายการจะมีชุดควบคุมที่คุณสามารถใช้เพื่อปิดเสียง โซโล่ และล็อคแทร็ค ตั้งค่าระดับความดังและตำแหน่งแพนของแทร็ค และตรวจสอบระดับของแทร็ค
- แหล่งสัญญาณเข้า
การตั้งค่าที่คุณต้องเลือกใน GarageBand เพื่อฟังเสียงจากไมโครโฟน กีตาร์ไฟฟ้า หรือเครื่องดนตรีไฟฟ้าอื่นๆ ใน GarageBand คุณสามารถตั้งค่าแหล่งสัญญาณเข้าเมื่อคุณเพิ่มแทร็คเสียง
- อัตราเร็ว
การวัดน้ำหนักในการกดแต่ละคีย์ขณะที่คุณเล่นบนคีย์บอร์ด USB (หรือ MIDI) โน้ต MIDI ที่เล่นด้วยอัตราเร็วสูงจะมีเสียงแตกต่างจากโน้ตที่เล่นด้วยอัตราเร็วต่ำ
- อินเทอร์เฟซเสียง
อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ใช้ในการนำเสียงเข้าไปหรือออกมาจากคอมพิวเตอร์ของคุณ อินเทอร์เฟซเสียง แปลงสัญญาณอนาล็อก (จากไมโครโฟน หรือ เครื่องดนตรี เป็นต้น) เป็นข้อมูลเสียงดิจิทัล ที่สามารถนำไปประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ของคุณได้ และในอีกทางหนึ่ง แปลงข้อมูลเสียงดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์ของคุณไปเป็นสัญญาณอนาล็อกที่ลำโพงจะกระจายเสียงออกไปได้
- อินโทร
เป็นคำย่อของ การเริ่มเพลง ส่วนเริ่มต้นของเพลง ปกติแล้วจะเล่นไปถึงจุดเริ่มต้นของท่อนแรก
- เอฟเฟ็กต์
อัลกอริทึมของคอมพิวเตอร์ (หรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์) ที่ปรับเปลี่ยนเสียงของแทร็ค เพลงป๊อปมักจะใช้เอฟเฟ็กต์เพื่อเพิ่มคุณลักษณะเฉพาะให้กับเสียงต่างๆ GarageBand มีเอฟเฟ็กต์ที่มีคุณภาพระดับมืออาชีพมากมาย เช่น ตัวบีบอัด ตัวปรับแต่งเสียง (EQ) เสียงสะท้อน และเอฟเฟ็กต์เสียงก้อง
- เอาท์โทร
ส่วนสุดท้ายของเพลง โดยส่วนใหญ่จะวนซ้ำในขณะที่เสียงค่อยๆ เบาลงจนเงียบ
- แอมป์
เป็นคำย่อสำหรับแอมปลิฟายเออร์ โดยเฉพาะแอมปลิฟายเออร์กีตาร์ไฟฟ้า แอมป์กีตาร์ร์สองประเภท คือ แบบคอมโบและแบบสแตก GarageBand มีแอมป์รุ่นต่างๆ ที่จำลองเสียงของแอมปลิฟายเออร์กีตาร์ชื่อดัง
- โอเวอร์ไดรฟ์
เอฟเฟ็กต์ในการเลียนแบบเสียงของแอมปลิฟายเออร์แบบหลอด ที่เพิ่มเกนสูงขึ้นเพื่อสร้างเสียงบิดเบือนที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว GarageBand มีเอฟเฟ็กต์โอเวอร์ไดรฟ์ที่คุณสามารถเพิ่มลงในแทร็คใดก็ได้ และยังมีเอฟเฟ็กต์ก้อนสต็อมป์บ็อกซ์โอเวอร์ไดรฟ์ที่คุณสามารถใช้กับแทร็คกีตาร์ไฟฟ้าได้อีกด้วย
- Apple Loop
ไฟล์เสียงที่อัดไว้ (ทั้งเสียงหรือแถบ MIDI) ที่สามารถทำให้ระดับเสียงสูงขึ้น หรือเทมโปเร็วขึ้น และที่ออกแบบมาเพื่อให้เล่นซ้ำได้ GarageBand มีคลัง Apple Loop ขนาดใหญ่ที่คุณสามารถเพิ่มไปยังโปรเจ็กต์ของคุณได้ คุณสามารถค้นหา หรือแสดงตัวอย่างลูปในหน้าต่างเลือกลูป จากนั้นให้เพิ่มลูปที่คุณต้องการเหล่านั้น ไปยังพื้นที่แทร็คของโปรเจ็กต์คุณได้ ให้ดูที่ลูปร่วมด้วย
- Audio Units (AU)
รูปแบบมาตรฐานของ macOS สำหรับปลั๊กอินแบบเรียลไทม์ ปลั๊กอิน Audio Units สามารถใช้ได้กับเอฟเฟ็กต์เสียง เครื่องดนตรีซอฟต์แวร์ และตัวสร้าง รูปแบบ AU ถูกผนวกเข้ากับระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมทั้งหมดที่สามารถปรับใช้ได้ จะสามารถเข้าถึง ปลั๊กอิน AU ที่ติดตั้งไว้ได้ GarageBand สนับสนุนปลั๊กอินรูปแบบ AU ทั้งหมด
- bpm
ตัวย่อของ จังหวะต่อนาที Bpm ใช้เพื่อกำหนดเทมโปของเพลง ให้ดูที่เทมโปร่วมด้วย
- Drummer
คุณสมบัติหนึ่งใน GarageBand ที่ทำให้คุณสามารถเพิ่ม Drummer เสมือนจริงเข้าไปในโปรเจ็กต์ของคุณได้ โดยใช้แทร็ค Drummer คุณสามารถแก้ไขการทำงานของ Drummer ได้ในตัวแก้ไข Drummer
- EQ
ตัวย่อของ อิควอไลเซอร์ หรือ การปรับสมดุล EQ คือเอฟเฟ็กต์ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางซึ่งทำให้คุณสามารถกำหนดรูปแบบความถี่เฉพาะของเสียงได้ คุณสามารถใช้ EQ กับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเสียงของแทร็คหรือเพลงทั้งเพียงเล็กน้อยและอย่างมาก
- flanger
เอฟเฟ็กต์ที่ทำให้เสียงมีความหนามากขึ้น โดยการเล่นเสียงนั้นซ้ำๆ โดยการซ้ำแต่ละครั้งเสียงจะเพี้ยนต้นฉบับเล็กน้อย GarageBand มีเอฟเฟ็กต์แฟลงเจอร์ รวมถึงเอฟเฟ็กต์ก้อนสต็อมป์บ็อกซ์แฟลงเจอร์สำหรับแทร็คกีตาร์ไฟฟ้า
- LCD
เป็นตัวย่อของ Liquid Crystal Display LCD อยู่ตรงกึ่งกลางของแถบควบคุมเหนือพื้นที่แทร็ค ซึ่งแสดงตำแหน่งปัจจุบันของตัวชี้ตำแหน่ง และสามารถแสดงเทมโป คีย์ และสัญลักษณ์กำหนดจังหวะของโปรเจ็กต์ คุณสามารถควบคุมลักษณะต่างๆ ของโปรเจ็กต์ได้ ขึ้นอยู่กับโหมด LCD ที่คุณเลือก
- MIDI
ตัวย่อของอินเทอร์เฟซเครื่องดนตรีดิจิทัล โปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างเครื่องดนตรีไฟฟ้ากับคอมพิวเตอร์ คุณสามารถเล่นเครื่องดนตรีซอฟต์แวร์ใน GarageBand ได้โดยใช้ USB หรือคีย์บอร์ดดนตรีที่รองรับ MIDI
- MIDI หลัก
ระบบไดรเวอร์ MIDI ที่เป็นมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ Mac ทุกรุ่นที่ใช้ macOS Core MIDI คือส่วนประกอบสำคัญของ macOS ที่ทำให้คุณสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ MIDI ที่ใช้งานร่วมกับ Core MIDI ได้ GarageBand ใช้ได้กับฮาร์ดแวร์ MIDI ที่ใช้กับ Core MIDI ได้
- Smart Control
ชุดตัวควบคุมบนหน้าจอที่ทำให้คุณสามารถควบคุมเสียงของแทร็คที่เลือกได้อย่างง่ายดาย Smart Control สามารถควบคุมได้ทั้งแทร็คและพารามิเตอร์ของปลั๊กอิน รวมถึงเครื่องดนตรีซอฟต์แวร์และเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ให้ดูที่การควบคุมหน้าจอร่วมด้วย