
ใช้ตัวแก้ไขข้อความสำหรับบรรทัดคำสั่งในเทอร์มินัลบน Mac
หากต้องการแก้ไขไฟล์ข้อความธรรมดาในเทอร์มินัล คุณสามารถใช้ตัวแก้ไขข้อความของบรรทัดคำสั่งได้
สำหรับงานที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป การใช้หนึ่งในตัวแก้ไขข้อความที่มาพร้อมกับ macOS เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด หากคุณต้องการใช้ตัวแก้ไขข้อความแบบกราฟิก ให้ใช้ TextEdit (ใน Launchpad) หรือไม่เช่นนั้น ให้ใช้หนึ่งในตัวแก้ไขบรรทัดคำสั่งที่มาพร้อมกับ macOS:
Nano nano
คือตัวแก้ไขบรรทัดคำสั่งที่เรียบง่าย ตัวแก้ไขนี้เหมาะกับการเริ่มต้นใช้ตัวแก้ไขบรรทัดคำสั่งเนื่องจากมีวิธีใช้บนหน้าจอที่สามารถทำตามได้ง่ายๆ ให้ดูที่หน้าคู่มือ nano
Vim vim
คือตัวแก้ไขข้อความที่สามารถใช้ได้กับ vi
ซึ่งมีตัวเสริมต่างๆ มากมายที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งสามารถเลื่อนไปรอบๆ ค้นหา และแก้ไขเอกสารได้ การแก้ไขแบบพื้นฐานเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่ายและมีฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มเติมให้ได้สำรวจ คุณสามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นการทำงานส่วนใหญ่ได้โดยใช้ชุดคำสั่งแป้นพิมพ์ที่ทำให้เกิดลักษณะการทำงานบางอย่าง vim
หรือตัวแก้ไขที่จำลองแบบมา vi
พบได้ในระบบการปฏิบัติการส่วนใหญ่ที่ทำงานบน UNIX ให้ดูที่หน้าคู่มือ vim
หากคุณเพิ่งเคยใช้บรรทัดคำสั่งและไม่ได้คาดว่าจะใช้เพื่อแก้ไขงานมากนัก nano
ถือเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับคุณ ถ้าคุณคาดว่าจะต้องใช้สภาพแวดล้อมบรรทัดคำสั่งบ่อยครั้ง คุณควรเรียนรู้การใช้งาน vim
เนื่องจากตัวแก้ไขเหล่านี้มีปรัชญาในการออกแบบที่แตกต่างกันมาก จึงทำให้ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรกับตัวแก้ไขแต่ละประเภทเพื่อพิจารณาว่าประเภทใดที่เหมาะกับคุณมากที่สุด
ไปที่แอปเทอร์มินัล
บน Mac ของคุณ
เรียกใช้ตัวแก้ไขบรรทัดคำสั่งโดยป้อนชื่อของตัวแก้ไข แล้วเว้นวรรคหนึ่งครั้ง จากนั้นป้อนชื่อของไฟล์ที่คุณต้องการเปิด หากคุณต้องการสร้างไฟล์ใหม่ ให้ป้อนชื่อตัวแก้ไข โดยเว้นวรรคหนึ่งครั้งแล้วใส่ชื่อเส้นทางของไฟล์
ตัวอย่างการใช้
nano
เพื่อเปิดไฟล์ใหม่ชื่อ “myFile.conf” ในโฟลเดอร์เอกสารของคุณมีดังต่อไปนี้:% nano ~/Documents/myFile.conf