หลักสรีรศาสตร์

เรียนรู้วิธีการปรับสภาพแวดล้อมของคุณและใช้อุปกรณ์อย่างปลอดภัย

เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ

ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน โปรดเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้อยู่ในท่าที่สบายอยู่เสมอ ให้ตรวจสอบสิ่งต่อไปนี้

  • ตั้งลำคอและศีรษะให้อยู่บริเวณกึ่งกลางในท่าที่รู้สึกสบาย คุณอาจต้องยกอุปกรณ์ขึ้นมา เพื่อไม่ต้องก้มมากเกินไป

  • พยายามอย่าหมุนหรือเอี้ยวตัว หากคุณจำเป็นต้องก้มเพื่อดูหน้าจอของอุปกรณ์ พยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

  • ปล่อยไหล่ให้อยู่ในท่าที่รู้สึกผ่อนคลาย อย่ายกเกร็ง

  • คอยตรวจสอบอิริยาบถของคุณว่าทำให้กระดูกสันหลังและส่วนหลังช่วงล่างผิดท่าหรือไม่ เพื่อรักษาให้อยู่ในท่าที่สมดุล

  • ขณะใช้หูฟัง โปรดปรับสายเพื่อให้สวมได้สบายมากที่สุด

No alt supplied for Image

พักยืดเส้นยืดสาย

พยายามเดิน เหยียดแขนขา และเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ ชั่วโมงตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ คุณยังสามารถตั้งค่าเตือนความจำ เพื่อไม่ให้ลืมอีกด้วย

คุณสามารถทำสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ลุกขึ้นยืนอย่างน้อย 2 นาทีทุกๆ หนึ่งชั่วโมง

  • ในทุกๆ 20 นาที ให้มองไกลออกไปประมาณ 20 ฟุตเป็นเวลา 20 วินาที เพื่อพักผ่อนสายตา คุณยังสามารถผ่อนคลายดวงตาโดยการมองไปที่วัตถุที่อยู่ในระยะไกล หรือหลับตาเป็นช่วงเวลาสั้นๆ

  • สลับมือหรือเปลี่ยนท่าที่ใช้จับอุปกรณ์

No alt supplied for Image

ปรับท่าทางให้สบายที่สุด

เมื่อคุณจัดเตรียมพื้นที่ของคุณ ให้ตรวจสอบความสว่าง ระดับเสียงรบกวน และการจัดท่าทางของร่างกาย โปรดปฏิบัติตามเคล็ดลับด้านล่างนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกสิ่งเหมาะสำหรับคุณแล้ว

ศีรษะและลำคอ

No alt supplied for Image

เปลี่ยนระดับความสูงของหน้าจอ

ยกหรือลดระดับหน้าจอลง โดยให้ระดับหน้าจอที่คุณกำลังดูอยู่ในระนาบเดียวกับคิ้ว หรือต่ำกว่าเล็กน้อย หากหน้าจออยู่ต่ำเกินไป ให้ใช้ขาตั้งยกให้สูงขึ้น

ปรับระยะห่างหน้าจอ

เลื่อนหน้าจอของคุณให้อยู่ห่างจากสายตาในระยะที่พอดี ซึ่งก็คือประมาณ 20-30 นิ้ว (50-75 ซม.) ปรับองศาหน้าจอให้เหมาะกับการดูของคุณ

จัดตำแหน่งหน้าจอของคุณให้อยู่บริเวณกึ่งกลาง

หากคุณใช้อุปกรณ์หรือจอแสดงผลเพียงเครื่องเดียว ให้จัดตำแหน่งให้อยู่บริเวณกึ่งกลางด้านหน้าลำตัวของคุณ หากคุณใช้หลายหน้าจอและใช้จอใดจอหนึ่งมากกว่าหน้าจออื่นๆ ให้จัดตำแหน่งจอแสดงผลที่ใช้เป็นหลักให้อยู่บริเวณกึ่งกลาง หากคุณใช้หลายหน้าจอเท่าๆ กัน ให้จัดตำแหน่งหน้าจอทั้งหมดนั้นให้อยู่บริเวณกึ่งกลาง

กระดูกสันหลังและขา

No alt supplied for Image

ตรวจสอบเบาะนั่งของคุณ

พยายามให้สะโพก หัวเข่า และต้นขาของคุณอยู่ในตำแหน่งที่ขนานกับพื้นดิน แผ่นหลังและต้นขาของคุณควรทำมุมระหว่าง 90°-110° หลีกเลี่ยงการนั่งบนขอบเก้าอี้เป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังหรือตึงหลังได้ วางเท้าลงบนพื้นหรือใช้ที่พักเท้ารองรับฝ่าเท้าทั้งสองข้าง เพื่อบรรเทาแรงกดทับที่ด้านหลังของต้นขาของคุณ

เพื่อรองรับแผ่นหลังช่วงล่างขณะที่คุณนั่ง ให้นั่งพิงแผ่นหลังทั้งหมดไปกับเบาะนั่ง รักษาท่าทางที่สมดุลต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวมากที่สุด และหลีกเลี่ยงการนั่งงอตัว หากคุณนั่งหลังค่อม หรือนั่งในท่าที่ไม่รองรับส่วนหลังอย่างเหมาะสม คุณอาจรู้สึกเมื่อยและกล้ามเนื้อตึง

ปรับลักษณะการยืน

ขณะที่ยืน คุณควรสวมรองเท้าเพื่อรองรับน้ำหนัก และงอเข่าเล็กน้อยเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเข่าล็อก ยืนโดยให้เท้าทั้งสองข้างแยกห่างกันอย่างน้อยเท่ากับความกว้างของบ่า เพื่อรองรับน้ำหนักตัวของคุณ

แขน

No alt supplied for Image

รองรับแขนท่อนล่าง

ลองจัดท่าทางที่สมดุลมากที่สุด โดยให้แขนท่อนล่างขนานกับพื้นผิวของเฟอร์นิเจอร์ที่คุณทำงานอยู่ โดยที่มือและข้อมือตั้งตรง และหากทำได้ ให้รองรับแขนท่อนล่างด้วยที่วางแขนหรือพื้นผิวของเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เพื่อค้นหาตำแหน่งการวางแขนที่ให้ความรู้สึกสมดุลและสบายมากที่สุด ลองเปลี่ยนระดับความสูงของเก้าอี้ พื้นที่ทำงาน หรือที่พักเท้า

ผ่อนคลายบ่าและแขนทั้งสองข้าง

ปล่อยแขนให้พักอยู่ในท่าที่เป็นธรรมชาติ และจัดข้อศอกให้อยู่ในตำแหน่งใกล้กับลำตัวทั้งสองข้างของคุณ ผ่อนคลายบ่าให้อยู่ในท่าที่รู้สึกสบาย เพื่อให้แขนของคุณสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ

หู

No alt supplied for Image

พิจารณาเรื่องระดับเสียง

รับรู้ถึงสภาพแวดล้อมรอบตัว หลีกเลี่ยงการเปิดเสียงดังเพราะจะทำให้เกิดเสียงรบกวนรอบตัวคุณ ตรวจสอบระดับเสียงของหูฟังหรือลำโพงของคุณ และเลือกระดับเสียงที่เหมาะสมสำหรับคุณ หรือตั้งค่าขีดจำกัด

ติดตามเวลา

ติดตามระยะเวลาที่คุณฟังเสียงในระดับเสียงที่ดัง ลดระดับเสียงลงทุกครั้งที่คุณสามารถทำได้

ปรับการตั้งค่าของคุณ

การตั้งค่า การช่วยการเข้าถึง ช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งการเล่นเสียงตามต้องการได้ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติการช่วยการเข้าถึง

ดวงตา

No alt supplied for Image

ปรับโฟกัสให้กับดวงตา

สำหรับการพักสายตา ให้มองไกลออกไปประมาณ 20 ฟุตเป็นเวลา 20 วินาทีในทุกๆ 20 นาที นอกจากนี้ คุณยังสามารถผ่อนคลายสายตาโดยการมองไปที่วัตถุที่อยู่ระยะไกล หรือหลับตาเป็นช่วงเวลาสั้นๆ

ปรับความสว่างของหน้าจอ

เพื่อผ่อนคลายสายตาของคุณมากยิ่งขึ้น ให้ เปลี่ยนความสว่างของจอแสดงผล ให้เหมาะสมกับระดับแสงสว่างรอบๆ ตัวคุณ ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการลดความสว่างหน้าจอในช่วงเย็น หรือเพิ่มความสว่างในช่วงเช้า

ลดแสงจ้าบนหน้าจอ

หากต้องการลดแสงจ้าบนหน้าจอของคุณ ให้ปรับตำแหน่งหน้าจอ หากคุณยังคงมองเห็นแสงจ้าอยู่ ให้เปลี่ยนระดับแสงสว่างรอบๆ ตัวคุณ โดยใช้ม่านบังแดด ที่กำบัง หรืออุปกรณ์ส่องสว่างอื่นๆ

ข้อมูลที่ให้ไว้ข้างต้นไว้สำหรับใช้เป็นข้อมูลเท่านั้น และไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญรายอื่นๆ ที่คุณสมบัติเหมาะสม หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสภาวะทางการแพทย์ต่างๆ

วันที่เผยแพร่: